ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletStone Restoration
bulletRepair Machines
dot
dot
bullet3M Matting
bulletAnti-Slip Matting
bullet3M Anti-Slip Tape
dot
dot
bulletHigh-pressure
bulletDry Vacuum
bulletWet & Dry Vacuum
bulletCarpet cleaner
bulletFloor scrubber & polishing
bulletSteam Cleaner
bulletAuto scrubber driers
bulletSweepers
bulletCarpet Air Blower
bulletWindow And Surface Vacuum
bulletAfter sales sevices
dot
dot
bullet3M Daily Chemical
bullet3M Hardfloor system
bullet3M Soft-floor system
bullet3M Problem Solving
bulletGreenmind
dot
dot
bullet3M Scotch-Brite
bullet3M Easy Erasing Pad
bullet3M Cleaning equipments
bullet3M Floor pads
bulletUnger Glass Cleaner
bulletMicro Fiber Cloths
bulletOther Equipment
bulletStanless Maker
bulletBin
dot
dot
bulletSealer
bulletMaintenance chemicals
bulletProblem Solving Chemical
bulletCrystal Shine System
bulletStone Restoration Machine
bulletDiamond Resin Disc
dot
dot
bulletOzone Machine
dot

dot
bulletDiamond Pads




รู้จักไข้หวัด.... article

 

ไข้หวัด (common cold)เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากที่สุดโรคหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามีอากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อถึงกันได้ทางอากาศที่เราหายใจเข้าไป เด็กเล็กมักเป็นไข้หวัดตั้งแต่อายุ 1-3 ขวบ และจะพบได้มากขึ้นเมื่อเข้าเรียนหนังสือ อายุ 5-6 ขวบเป็นต้นไปเนื่องจากสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเอื้ออำนวยให้มีการติดต่อกันได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะเวลาไอหรือจาม มักจะไม่มีการปิดปากเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ร่างกายของคนเรามักมีภูมิต้านทานมากขึ้นจะเป็นไข้หวัดน้อยลงเรื่อยๆ ตามลำดับไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เยื่อบุโพรงจมูก ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่โพรงไซนัสบริเวณข้างโพรงจมูก หูชั้นกลางและหลอดลม โดยปกติแล้วภายในโพรงจมูกประกอบด้วยผนังที่มีลักษณะคล้ายหิ้งวางของซึ่งมีหน้าที่ในการที่จะดักอนุภาคเล็กที่เข้ามาภายในโพรงจมูกและจะค่อยเคลื่อนย้ายสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นไปทางด้านหลังของโพรงจมูกและโดยเฉพาะที่บริเวณส่วนที่เรียกว่าอะดินอยด์ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เป็นเป้าหมายของเชื้อไวรัสไข้หวัดสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า coryza viruses ประกอบด้วย rhinoviruses เป็นสำคัญเชื้อชนิดอื่นๆ ได้แก่ adenoviruses, respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวมและแดงพบว่ามีการหลั่งของเมือกออกมาไข้หวัดในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่มากกว่า 100 ชนิดเป็นได้ในเด็กทุกวัย แม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองในหนึ่งสัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้งผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็กคนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้งโรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น สามารถติดต่อทางน้ำลายและเสมหะโดยหายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศนอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรคก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตามือของเด็กหรือผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อจากเสมหะของผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อม แล้วขยี้ตาหรือเอาเข้าปากหรือจมูก ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดง่ายคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเด็กที่ขาดอาหาร เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็กเชื้อหวัดเข้าสู่โพรงจมูกส่วนหน้าโดยติดมากับนิ้วมือเวลาที่แคะจมูกหรือหายใจสูดเอาละอองเสมหะจากการไอหรือจามของคนที่เป็นโรคนี้เข้าไปหลังจากนั้นก็จะถูกเซลล์ที่สามารถพัดโบกให้อนุภาคไวรัสเคลื่อนไปที่บริเวณผนังด้านหลังซึ่งจะมีที่เกาะให้กับไวรัสและนำไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ หลังจากที่เข้าสู่เซลล์แล้วเชื้อไวรัสก็จะเพิ่มปริมาณและทำให้เซลล์นั้นตายไปจากนั้นก็จะเข้าสู่เซลล์ข้างเคียงต่อไปเรื่อยๆทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกระยะเวลาตั้งแต่ที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่โพรงจมูกจนกระทั่งทำให้เกิดอาการของโรคนี้ใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง และจะเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 10-12ชั่วโมงจากนั้นอาการจะแสดงมากที่สุดเมื่อได้รับเชื้อไปแล้ว 36-72 ชั่วโมงอาการอาการทั่วไปของไข้หวัดได้แก่ น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ เสียงแหบในตอนต้นอาจมีน้ำมูกใสๆ แต่ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย อาจทำให้น้ำมูกข้นมีสีเหลืองปนเขียว บางครั้งอาจมีอาการปวดศรีษะและมีไข้ร่วมด้วยแต่ถ้าหากมีไข้สูงร่วมกับมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายแขน ขาอาจจะมีสาเหตุจากไข้หวัดใหญ่ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไข้ ไอและปวดศีรษะ บางราย อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่หูอักเสบ ไซนัสอักเสบและปอดบวมผู้ใหญ่มีอาการจาม และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อยแต่มักไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมงและหมดใน 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง บางรายเยื่อบุตาอักเสบเจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์ในเด็กอาจจะรุนแรงและมักมีการแพร่ไปเป็นหลอดลมอักเสบ ปอดบวมเป็นต้นผลแทรกซ้อนหรือปัญหาที่เกิดตามมาของไข้หวัด ได้แก่การอักเสบของไซนัสที่เกิดจากการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย การอักเสบของหูชั้นกลางหอบหืด สำหรับผู้ที่มีโรคถุงลมในปอดโป่งพองไข้หวัดจะทำให้อาการทางปอดเรื้อรังเป็นมากขึ้นอย่างรุนแรงการวินิจฉัยสามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
 
การรักษา
  1. การรักษาไข้หวัดนั้น ส่วนใหญ่จะให้การรักษาตามอาการ เช่นการให้ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ให้ดื่มน้ำมากๆและที่สำคัญคือการพักผ่อนให้เพียงพออาการส่วนใหญ่จะดีขึ้นและหายไปภายใน 2-4 วันถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจลุกลามไปถึงหูชั้นกลางไปที่ไซนัส กล่องเสียง หลอดลม และปอด ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษามากขึ้นไปอีกการรักษาส่วนใหญ่อาจทำได้เอง โดยการให้ยารับประทานตามอาการรักษาร่างกายให้อบอุ่นและดื่มน้ำมากๆ โดยมากไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะกรณีมีอาการปวดหู หูอื้อ ปวดศีรษะมาก มีอาการหอบเหนื่อย น้ำมูกหรือเสมหะเหลืองเขียวควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
  2. การดื่มน้ำมากๆช่วยทำให้น้ำมูกหรือเสมหะใสขึ้นและทำให้ขับน้ำมูกหรือเสมหะได้ง่ายขึ้นน้ำอุ่นจะทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณคอหอยละลายได้ง่ายกว่าน้ำเย็น
  3. พักผ่อนให้เพียงพอและทำให้ร่างกายอบอุ่นแต่ไม่ควรร้อนเกินไป
  4. หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรงเพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสได้โดยง่ายและทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในไซนัสได้
  5. ควรอยู่ในสถานที่ที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่หรือควันไฟมากเพราะจะ
    ทำให้เยื่อบุระคายเคืองอีกทั้งทำให้การระบายน้ำมูกหรือเสมหะเป็นไปได้ลำบาก
  6. เลือกใช้ยาที่เหมาะสมเช่นยาต้านฮิสตามิน เพื่อลดการคัดจมูกและลดน้ำมูก ยาลดการอักเสบ ยาลดบวมในโพรงจมูกยาแก้ไอ และพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียเช่นน้ำมูกหรือเสมหะเป็นสีเขียว
    การป้องกัน
    1. การป้องกันไข้หวัดสามารถกระทำได้โดยรับประทานอาหารให้ครบหมู่พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำและต้องพยายามไม่ไปอยู่ใกล้คนที่เป็นไข้หวัด เพราะอาจติดต่อถึงกันได้
    2. ลดการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยอย่าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นหวัดเป็นเวลานานไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า
    3. ล้างมือบ่อยๆหรือทุกครั้งหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วยหรือข้าวของเครื่องใช้ในที่สาธารณะเช่นโดยเฉพาะถ้าสัมผัสกับลูกบิดประตู ราวโหนรถเมล์หรือราวบันไดประโยชน์ของการล้างมือคือ ชะล้างเอาเชื้อโรคที่เกาะอยู่ที่มือออกไปโดยเฉพาะก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วยแต่พึงระลึกไว้ว่าน้ำยาล้างมือที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อโรคนั้นไม่สามารถฆ่าเชื้อหวัดได้เพียงแต่ชะล้างออกไปเท่านั้นเอง
    4. อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตาไม่เอามือเข้าปากหรือขยี้ตาเพราะอาจนำเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้
    5. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจามเวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงที่ชุมชนเช่น โรงภาพยนต์ ร้านอาหาร ในช่วงที่มีการระบาด



สาระน่ารู้

คู่มือการทำความสะอาด article
การดูแลพื้นหินอ่อน และหินขัด ด้วยแผ่น 3M Diamond Pad article
Crystal Shine System article
โอโซน Ozone กับงานโรงแรม article
กระเบื้องโมเสก



เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์ อังคาร พฤหัสบดี เเละศุกร์ ตั้งเเต่เวลา 8.30 - 16.00 น.